วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

ทักษะการเตะ ตะกร้อข้ามตาข่าย

ทักษะการเตะ ตะกร้อข้ามตาข่าย

๑. การโหม่งลูก

การโหม่งลูก คือ การเล่นลูกด้วย หน้าผาก ขณะที่ลูกกำลังลอยอยู่ในอากาศ เป็นการเล่นที่ได้เปรียบกว่า การเล่นลูกด้วยเท้า การโหม่งที่ดีนั้น ต้องโหม่งให้ลูกลงสู่พื่้น ทั้งนี้เพื่อบังคับ ให้ลูกได้เข้าสู่ วิถีทางการเล่น โดยเร็ว ไม่เป็นการล่าช้าเหมือนการ โหม่งลูกให้ลอยอยู่ในอากาศ การที่จะทำได้เช่นนี้ต้องปฏิบัติ คือ
  • - ตา จ้องที่ลูกจนกว่าจะได้โหม่งไปแล้ว
  • - วิ่ง มาแล้วกระโดดพุ่งขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะสูงได้ โดยเท้าทั้งสองเหยียดตรง แขนทั้งสอง กางห้อย อยู่ข้างลำตัว
  • - เกร็งคอ ยื่นหน้าออก ใช้หน้าผากตรงที่ติดกับผมกระแทกลูก พร้อมกันนี้ ให้งุ้มคาง กดลูกลงสู่พื้น ด้วยหน้าผาก
  • - ในการที่จะให้ลูกไปทางขวา หรือซ้ายตามต้องการนั้น ให้เอี้ยวคอไปทางที่ต้องการ ขณะที่ลูกถูก หน้าผาก
วิธีฝึก
  • - หัดโหม่งเลี้ยงลูก ด้วยหน้าผาก ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องกระโดด เมื่อชำนาญแล้ว ให้เอาลูกตะกร้อ แขวนไว้ให้สูง เท่าที่ต้องการ แล้วหัดวิ่งมากระโดดโหม่ง ด้วยท่าทางที่ถูกต้อง จนชำนาญแล้ว ให้มี ผู้โยนลูก ให้กระโดดโหม่ง ตรงไปข้างหน้า ไปทางซ้าย หรือทางขวา
  • - เมื่อชำนาญแล้ว ให้มีผู้จับเตะส่งมาให้ แล้วโต้กลับไปด้วยลูกโหม่ง
  • - วิ่งโหม่ง โดยให้คนหนึ่งโยนให้ โดยวิ่งกลับไปกลับมา
  • - พุ่งโหม่งโดยการนั่งยอง ๆ และสูงขึ้นจนโหม่งจากท่าอื่นหรือวิ่ง

๒. การเตะลูกหลังเท้า

  • - ตามองดูลูก
  • - ปลายเท้างุ้ม ข้อเท้าตึง
  • - เหวี่ยงเท้าเตะแค่ตะโพก
  • - เตะลูกด้วยหลังเท้า ลำตัวโน้มไปข้างหน้า เวลาเตะไปแล้ว ปลายเท้าชี้ไปตามทางที่จะให้ลูกไป

๓. การเตะลูกอากาศ หรือ การเตะลูกวอลเลย์

การเตะลูกนี้ เตะได้ทั้งผู้ที่เล่นแดนหน้า และแดนหลัง การเตะลูกอากาศเตะได้ ๒ อย่างคือ ลูกมาตรงหน้า และลูกมาข้าง ๆ
ลูกมาตรงหน้า
  • - ปล่อยลูกให้ลงต่ำ
  • - เหวี่ยงเท้าเป็นท่อน ใช้หลังเท้าเตะลูก ปลายเท้างุ้ม เข่ายึด ข้อเท้าตึง
  • - โน้มตัวไปข้างหน้า เพื่อไม่ให้ลูกโด่ง แต่กะให้ลูกเฉียดตาข่าย
  • - แขนเหวี่ยงให้สัมพันธ์กับขา
ลูกที่มาข้าง
  • - ปล่อยให้ลูกลงได้ระดับสะเอว
  • - ตวัดเท้าไปข้าง ๆ ให้เป็นเส้นตรงขนานกับพื้น
  • - ใช้หลังเท้าเตะลูก และตวัดลูกลงสู่พื้น เพื่อให้ลูกเลียด
วิธีฝึก
การเตะลูกอากาศนี้ ยากมาก เพราะมักจะเตะผิด หรือ ผิดจังหวะ ถ้าเตะผิดจังหวะ จะเจ็บมาก ต้องฝึก ให้ชำนาญ โดยเริ่มไปจาก การจับเตะก่อน ต่อไปจึงหัดเตะจากลูกที่มีผู้โยนให้ และเตะค่อย ๆ ก่อน

๔. การเตะลูกตาม

เป็นการเตะลูกที่เคลื่อนอยู่ เพื่อให้ไปตามทิศทางเดิม
  • - เข้าทางหลังลูก ให้ลูกและเราอยู่ในเส้นตรงอันเดียวกัน ตามองดูลูกที่กำลังลอยไป
  • - น้ำหนักตัวโน้มไปข้างหน้า เหวี่ยงขาที่ตะโพก เหมือนเตะด้วยหลังเท้า
  • - ปล่อยให้ลูกลอยมาในระดับเท้าที่เป็นหลักจึงเตะ เตะลูกด้วยหลังเท้า

๕. การเตะลูกกลับหลัง

มีวิธีเตะดังนี้ ตาจับดูลูกตลอดเวลา ขณะลูกลอยมาในอากาศ ปล่อยให้ลูกตะกร้อเลยตัวไป นิดหน่อย แล้วให้ เท้า (หลังเท้า) เตะลูกให้กลับไป ปลายเท้าเชิดขึ้นมากๆ เกือบงอ ตัวเอนไปข้างหลังมาก น้ำหนักตัว อยู่ทางเท้าหลัง

หลักของการ เตะตะกร้อวง

หลักของการ เตะตะกร้อวง

ตะกร้อวงใหญ่

หลักในการฝึกเบื้องต้น มีดังนี้

๑. การเตะลูกหน้าเท้า (ลูกแป)

ใช้เท้าที่ถนัดเตะขึ้นข้างบน อย่ายกเท้าให้สูงเกินไป ตะแคงเท้า ให้ลูกตะกร้อ สัมผัสข้างเท้าด้านใน ระหว่าง ตาตุ่ม กับ ส้นเท้า บางคนก็ถูกต่ำไปทางด้านฝ่าเท้า

๒. การเตะลูกหลังเท้า

ยกเท้าขึ้นสูงพอสมควร หน้าก้มมองดูลูก ที่จะตกลงมาสัมผัส หลังเท้า ลูกจะถูกหลังเท้าตรงเหนือโคนนิ้ว เล็กน้อย (ถ้ายกเท้า แล้วเอนตัวไปหลัง จะเสียหลัก และเตะลูกไม่ตรงทิศทาง)
ลูกหลังเท้า มีกฎเกณฑ์ในการเตะ คือ
  • - พยายามปรับเท้าให้เป็นแผ่นอยู่เสมอ
  • - ยกเท้าต่ำที่สุด (ไม่เกินหัวเข่า)
  • - ห้ามงอเข่าโดยเด็ดขาด (โดยเฉพาะเวลาถูกลูกตะกร้อ)
  • - ต้องเตะให้ถูกหลังเท้าตอนปลายโคนนิ้วเท้าทั้งห้าเสมอ

๓. การเล่นลูกเข่า

อบ่าบกเข่าให้สูงเกินไป ให้ลูกมาสัมผัสตรงหัวเข่า พยายามให้ลูกโด่งลอย

๔. การเล่นลูกโหม่ง

หรือเล่นลูกด้วยศีรษะ ตามองลูกที่ลอยมา กะระยะให้ลูกลอยกึ่งกลางของหน้าผาก เอนหัวไปหลังเล็กน้อย แล้วโหม่ง ให้ส่วนกลางของหน้าผาก กระแทกลูกให้โด่งไป

๕. การเล่นลูกหลัง

เมือฝึกการเล่นลูกที่มาจากข้างหน้าให้ดีพอสมควร ก็ฝึกเล่นลูกหลัง คนที่จะฝึกลูกหลังได้ดี และแม่นยำนั้น ต้องมีทักษะ พอสมควร เวลายกขาไปข้างหลังควนก้มตัวลงด้่วย ลูกทีลอยไปสัมผัสนั้น อาจสัมผัสเท้า หรือฝ่าเท้าตอนปลายก็ได้ แต่ต้อง กดปลายเท้าขึ้นด้วย

๖. การใช้ลูกข้าง

การใช้ข้างเท้าเตะลูกให้ถูกที่หมาย ที่หมายก็คือ ใต้ตาตุ่มประมาณ ๒ เซนติเมตร ก่อนเตะลูก ให้่ย่อหัวเข่า ซึ่งเป็น ขายืน ขณะที่ถูกลูก ให้ยืดตัวขึ้นในลักษณะการทรงตัวที่ดี

๗. การใช้ลูกศอก

ใช้สำหรับลูกที่ลอยมาโด่ง เคลื่อนตัวเข้าไปใต้ลูก กะว่าให้ลูกตะกร้อ ตกข้ามหัวไปข้างหลัง ให้อยู่ในท่า ทรงตัวที่ดี ย่อเข่าลงเล็กน้อย เมื่อลูกตะกร้อลอยไปข้างหลัง ลับตาที่เรามองตามอยู่นั้น ให้กระตุกศอก ไปข้างหลัง ให้ลูกถูก ปลายศอก พร้อมกับยืดตัวขึ้น

ตะกร้อลอดห่วง - ตะกร้อลอดบ่วง

ตะกร้อลอดห่วง - ตะกร้อลอดบ่วง

๑. สนาม

เป็นพื้นราบ กว้างยาวประมาณ ๑๘ เมตร จากพื้นสนามขึ้นไปสูงอย่างน้อย ๘ เมตร ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง สนามแข่งขัน ตีเส้นเป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๖ เมตร อยู่ในร่ม หรือกลางแจ้งก็ได้

สนามตะกร้อลอดห่วง

ตะกร้อลอดห่วง

๒. ลักษณะของห่วงชัย และความสูง

ห่วงตะกร้อลักษณะ ของห่วงชัย ประกอบด้วย วงกลม สามห่วง ขนาด เท่ากัน เส้นผ่าศูนย์กลาง วัดภายในประมาณ ๔๐ ซม. ทำด้วย โลหะ หวาย หรือ ไม้ โตประมาณ ๑ ซม. วงกลม ทั้ง ๓ วง ต้องผูก หรือบัดกรีติดกัน ให้แน่น เป็นรูปสามเส้า วงห่วง แต่ละห่วงตั้งตรง
วงห่วง แต่ละห่วง มีถุงตาข่าย ทำด้วย ด้ายสีขาว ผูกรอบ ทุกห่วง วงห่วงทั้งสาม จะใช้กระดาษสี พันรอบทุกแห่ง ก็ได้
ความสูงของห่วงชัย ห่วงชัยต้องแขวน กลางสนาม โดยขอบล่าง ของทุกห่วง ต้องได้ระดับ และจากพื้นสนาม วัดถึงขอบ ห่วงล่าง ต้องสูง ๕.๗๕ เมตร

๓. วิธีแข่งขัน

  • ๑. แข่งคราวละ ๑ ชุด ชุดหนึ่งมีผู้เล่นไม่เกิน ๗ คน อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า ๖ คน ไม่ครบ ๖ คน แข่งไม่ได้
  • ๒. แข่งขันชุดละ ๔๐ นาที (เวลาที่เสียไปโดยอุบัติเหตุ หรือด้วยเหตุอื่น ผู้ตัดสินอาจชดเชยให้)
  • ๓. ในระหว่างการแข่งขัน เปลี่ยนตัวผู้เล่นไม่ได้ แต่สับเปลี่ยนแทนที่กันได้
  • ๔. เริ่มสัญญาณการแข่งขัน ผู้เล่นคนใดโยนลูกให้แก่คู่หนึ่ง หรือคู่สองของตน ต่อจากนั้น เมื่อลูกตาย ผู้ใดเก็บลูก ผู้นั้นเป็นผู้โยน แต่ต้องโยนให้แก่คู่หนึ่ง หรือคู่สองของตน
  • ๕. ในการโต้ลูกผู้เล่นจะใช้มือไม่ได้

๔. ข้อกำหนดตามกติกาเกี่ยวกับวิธีเล่น

ข้อกำหนดตามกติกา เกี่ยวกับวิธีเล่น แยกไว้เป็น ๒ กรณี คือ กรณีให้ถือว่าลูกตาย และให้โยนใหม่ กับลูกที่เข้าห่วงชัย แต่ไม่นับคะแนน
ก. กรณีที่ให้ถือว่าเป็นลูกตาย และให้โยนใหม่ มี ๔ ประการ คือ
  • ๑. ลูกตกถึงพื้นสนาม
  • ๒. ลูกถูกมือผู้เล่น ยกเว้นเล่นลูกห่วงมือแล้วกระทบห่วงมือ
  • ๓. ลูกติดกับห่วงชัย
  • ๔. ลูกถูกวัตถุใด ๆ ที่ไม่ใช่เครื่องตะกร้อลอดห่วง
ข. ลูกที่เข้าห่วงชัย แต่ไม่นับคะแนน มี ๖ ประการ คือ
  • ๑. โต้ลูกโยนไปเข้าลอดห่วง
  • ๒. ลูกพักหรือเลี้ยงแล้วโต้ไปลอดห่วง
  • ๓. ผู้เล่นที่เตะลูกที่โต้มาจากผู้ที่พักหรือเลี้ยงลูก
  • ๔. ลูกลอดห่วงภายหลังสัญญาณหมดเวลา
  • ๕. ลูกลอดห่วงแล้วกระดอนออกทันใด
  • ๖. ลูกลอดห่วงที่คนใดคนหนึ่ง เตะซ้ำท่าเกินกว่า ๒ ครั้ง

๕. การให้คะแนน

กำหนดท่่าการเตะที่จะใช้คะแนนไว้ทั้งสิ้น ๓๐ ท่า เป็นท่าด้านหน้า ๘ ท่า ท่าด้านช้างและท่าด้านหลัง ด้านละ ๑๑ ท่า แต่ละท่ากำหนดคะแนนไว้ให้ มาก - น้อย ตามความสำคัญ ตามตารางการให้คะแนน ดังต่อไปนี้
head

การให้คะแนน


ลำดับ ลักษณะของท่า การให้คะแนน ของ
สมาคมกีฬาไทย ฯ
การให้คะแนน ของ
เทศบาลนครกรุงเทพ ฯ











๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗
๑๘
๑๙

๒๐
๒๑
๒๒
๒๓
๒๔
๒๕
๒๖
๒๗
๒๘
๒๙
๓๐
ด้านหน้า ๘ ท่า
ลูกหน้าเท้า
ลูกหลังเท้า
ลูกไขว้หน้า ด้วยหลังเท้า
ลูกแข้ง
ลูกเข่า
ลูกไขว้หน้าด้วยเข่า
ลูกไหล่
ลูกโหม่ง
ด้านข้าง ๑๑ ท่า
ลูกข้าง
ลูกข้างห่วงมือ
ลูกไขว้
ลูกไขว้ตบห่วงมือ
ลูกส้นไขว้
ลูกส้นไขว้ห่วงมือ
ลูกตัดไขว้
ลูกพับเพียบ
ลูกพับเพียบห่วงมือ
ลูกขึ้นม้า
ลูกขึ้นม้าห่วงมือ
ด้านหลัง ๑๑ ท่า
ลูกศอกหลัง
ลูกข้างหลัง
ลูกข้างหลังห่วงมือ
ลูกตบธรรมดา
ลูกตบหลังบ่วงมือ
ลูกแทงส้นตรงหลัง
ลูกแทงส้นตรงหลังบ่วงมือ
ลูกตบหลังแป
ลูกตบหลังสองเท้าพร้อมกัน
ลูพับหลังตบ
ลูกพับหลังตบห่วงมือ


๑๕
๒๕


๒๐
๑๒
๑๐


๑๒
๑๐
๑๕
๑๕
๒๕
๒๐

๑๕

๑๕

๑๐
๑๕
๒๐
๑๕
๒๕
๒๐
๒๕
๒๐
๒๐
๒๐
๓๐


๑๕
๓๐


๒๐
๑๒
๑๐


๑๒
๑๕
๒๐
๒๐
๓๐
๒๕
๑๐
๑๕
๑๐
๑๕

๑๒
๑๕
๒๕
๒๐
๓๐
๒๕
๓๕
๒๕
๒๕
๒๕
๔๐

๖. การแพ้ชนะ

ผลของการตัดสินให้ชุดใดชนะ เป็นไปดังนี้
  • ก. ชุดใดได้คะแนนมากที่สุด ชุดนั้นชนะ แต่
  • ข. ถ้าได้คะแนนเท่ากัน ชุดใดได้จำนวนห่วงมากกว่า ชุดนั้นชนะ แต่
  • ค. ถ้าคะแนนและจำนวนห่วงเท่ากัน ชุดใดได้ห่วงด้วยท่าที่ได้คะแนนสูงกว่า ชุดนั้นชนะ

ความมุ่งหมายของ กีฬาตะกร้อ

ความมุ่งหมายของ กีฬาตะกร้อ

คนไทยส่วนมาก จะต้องชอบการเล่นตะกร้อกันทั้งนั้น แต่จะชอบมากหรือน้อย หรือหากบางท่าน จะเพียง ชอบดู หรือชอบสนับสนุน เท่านั้น ก็คงจะเป็นเพราะ เบื่อหน่ายต่อการฝึก และการซ้อมเล่น ที่จะเก่ง หรือ หาความชำนาญ ได้ยากมากกว่า กีฬาประเภทอื่นๆ กีฬาตะกร้อ ใช้เล่นกันทั่วไป ไม่จำกัดสถานที่ ไม่จำกัดเวลา หรือจำกัดวัย แต่อย่างใด ความจริง กีฬาตะกร้อ เป็นเพียงกีฬาที่ให้ประโยชน์ ต่อร่างกายของผู้เล่นเอง มากกว่า อย่างน้อยก็เท่าเทียม กับนักกีฬาประเภทอื่นๆ เห็นได้ชัด กล่าวคือ มีการลงทุนน้อย ประหยัดกว่ากีฬา ของต่างประเทศมาก ตะกร้อลูกเดียวราคาไม่กี่บาท ก็อาจร่วมทุน ร่วมวง หรือผลัดกันเข้าเล่น ได้ตั้งหลายชุด หลายสิบคน และตะกร้อก็มีความทนทาน สนามที่ใช้เล่นก็ไม่ต้องเลือก ว่าจะต้องราบเรียบ หรือกว้างยาว ประการใด ถ้ารักจะเล่น ก็ร่วมเล่นกันได้ง่ายๆ สุดแล้วแต่สถานที่ จะอำนวยให้ ไม่จำกัดเวลาเล่น ฤดูไหนก็เล่นได้ ไม่มีอุบัติเหตุ อันตรายก็ไม่รุนแรง ส่วนประโยชน์นั้นมีมาก เช่น ช่วยให้ประสาทตาว่องไว ทรงตัวดีไม่ให้มี่ลื่นล้ม จิตใจเยือกเย็น สุขุม ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน

ฉะนั้น จึงอาจสรุปความมุ่งหมายของกีฬาตะกร้อได้ ๑๕ ประการ คือ

  • ๑. เล่นง่าย ไม่ว่าจะเป็น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดบ่วง ตะกร้อข้ามตาข่าย เช่น ตะกร้อวง มีการเล่นที่ง่าย คือ การพยายาม เตะลูก ให้ถูก ให้สูงโด่งก็ใช้ได้
  • ๒. ไม่จำกัดเวลา และ สถานที่
  • ๓. ประหยัดทั้งเวลา และ ค่าใช้จ่าย
  • ๔. ทำให้เกิดความว่องไวปราดเปรียว
  • ๕. ทำให้เยือกเย็นสุขุมรอบคอบ
  • ๖. ทำให้มีการตัดสินใจรวดเร็วแน่นอน
  • ๗. ทำให้เป็นคนมีความประพฤติเรียบร้อย
  • ๘. ทำให้มีระบบประสาทดี
  • ๙. ทำให้มีพลานามัยแข็งแรงอายุยืน
  • ๑๐. มีปฏิภาณไหวพริบดี
  • ๑๑. มีความเพลิดเพลิน
  • ๑๒. ทำให้เกิดความสามัคคี ให้แต่ละคนมีความรับผิดชอบ
  • ๑๓. ทำให้รู้จักเข้าสังคมได้ดี ไม่เกิดความประหม่า เคอะเขิน กล้าหาญ
  • ๑๔. รู้จักความปลอดภัยในการเล่น
  • ๑๕. ใช้เป็นเกมนำ เพื่อนำไปสู่การเล่นกีฬาฟุตบอล ที่ดีอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ กีฬาตะกร้อ ยังเป็นกีฬาประจำชาติไทย อีกอย่างหนึ่ง ฉะนั้น ผู้ที่เล่นกีฬานี้ จึงมีความมุ่งหมาย อีกประการหนึ่ง คือ มุ่งสงวนศิลปประจำชาติไทย ไว้อีกด้วย

head

ระเบียบการเล่น และ การแข่งขันกีฬาตะกร้อ

๑. การแข่งขันกีฬาตะกร้อ มี ๕ อย่าง คือ

  • ๑) ตะกร้อลอดห่วง
  • ๒) ตะกร้อข้ามตาข่าย ตามกติกากีฬาแหลมทองที่เรียกว่า "เซปัค-ตะกร้อ"
  • ๓) ตะกร้อข้ามตาข่าย ตามกติกาเดิม แยกออกเป็น ชนิด ๓ คน , ๒ คน และ ๑ คน
  • ๔) ตะกร้อเตะทนวงใหญ่
  • ๕) ตะกร้อเตะทนวงเล็ก
หมายเหตุ
กีฬาตะกร้อ ที่เคยมีการแข่งขันมาแล้วได้เลิกเสีย ได้แก่
    • ตะกร้อเตะทนบนโต๊ะ
    • ตะกร้อเลี้ยงวิ่งชิงธง
    • ตะกร้อพลิกแพลง
    • ตะกร้อติดส่ง
    • การติดตะกร้อ
รวม ๕ อย่าง

๒. ลักษณะ , ขนาด และน้ำหนัก ของตะกร้อ ที่ใช้ในการแข่งขัน

คณะกรรมการ จัดการแข่งขันกีฬาตะกร้อ ของเทศบาลนครกรุงเทพฯ ได้ประชุมพิจารณากัน ถึงเรื่องนี้ โดยพิจารณาจาก ลูกตะกร้อ ที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป ปรากฎว่า
  • ๑) ลักษณะ เป็นลูกกลม สานด้วยหวาย ระหว่าง ๖ ถึง ๑๐ เส้น (ปัจจุบันนิยม 12 เส้น)
  • ๒) ขนาด เส้นรอบวง ตั้งแต่ ๓๘ ซม. ถึง ๔๒ ซม.
  • ๓) น้ำหนัก อย่างต่ำ ๑๒๐ กรัม อย่างสูงไม่เกิน ๒๐๐ กรัม

ตะกร้อไทย

ประวัติความเป็นมา ของ ตะกร้อ


        คำว่า ตะกร้อ นั้น เป็นคำที่ไทยเราใช้กันมานานแต่โบราณ ท่านที่เคยอ่านกฎหมายไทยโบราณ คงจะจำกัน ได้ว่า การลงโทษ ในสมัยโบราณนั้น เคยเอาคนใส่ตะกร้อ (ลูกตะกร้อคงจะโตหน่อย) แล้วให้ช้างเตะเล่น ถ้าเราคิดกันเล่นๆ ว่า คนไทย สมัยโบราณนั้น เคยสานตะกร้อเอาคนใส่ให้ช้างเตะเล่นได้ ไฉนจะสานตะกร้อ เตะเล่นเองไม่ได้เล่า หรือ การที่สานตะกร้อ เอาคนใส่ให้ช้างเตะนั้น ได้ความคิดจากตะกร้อที่คนเตะเล่น ถ้าเป็นไปตามนี้ การเล่นตะกร้อ ก็มีมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมี เมื่อพม่าเอามาเตะเล่นที่ค่ายโพธิ์สามต้น ถ้าไทยไม่ได้เอามาจากพม่า แล้วไทยเอามา จากที่ไหน ถ้าเอามาจากพม่าจริง ก็ควรจะเรียกอย่างพม่า คำว่า "ตะกร้อ" ไทยเราใช้มานานแล้ว ส่วนพม่า ไม่รู้จักคำว่า ตะกร้อ พม่าเรียกตะกร้อว่า ชินลง หมายถึง ตะกร้ากลมๆ ถ้าหากไทยเราไปเอาตะกร้อมาจากพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ก็คงจะถามพม่าบ้างว่า เขาเรียก ว่าอะไร พม่าก็คงจะบอกว่า ชินลง จึงมีเหตุผลที่ไม่แน่นอน
ทางมาเลเซีย ก็ได้ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของ ประเทศมลายูเดิม เป็นกีฬาของชาติ เขาเรียกตะกร้อว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า ก็คงเข้าแบบพม่านั่นเอง
ส่วนทางฟิลิปปินส์ นั้นเรียกว่า Sipak ก็ใกล้กันมาก
คำว่า ตะกร้อ ตามพจนานุกรม มีความหมายว่าเป็น "ของเล่นชนิดหนึ่ง สานด้วยหวายสำหรับการเล่น เตะเล่น บางอย่าง ทำด้วย หนังปักพู่ขนไก่"
       เฟรเดอริค อาร์เธอร์ นีล เขียนหนังสือเรื่อง "Narrative of a Residence in Siam" พิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1852 ได้พูดถึงการ เตะตะกร้อ ชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ มีภาพเขียนเป็นคนไว้ผมจุก หรือหางเปีย ล้อมวงเตะตะกร้อชนิดนี้อยู่ ฉะนั้น คนที่เตะตะกร้อลูกหนังนั้น ก็ไม่ใช่คนไทย เห็นจะเป็นคนจีน ตะกร้อลูกหนัง ปักขนไก่ ที่คนจีนเตะนั้น ก็สมควรแล้ว เพราะคนจีนเล่นที่เมืองจีนมาแต่โบราณ ท่านที่เคย อ่านพงศาวดารจีน เรื่อ ซุยถัง มาแล้ว คงจะเคยอ่านผ่านพบเรื่อง เตะตะกร้อ
ชาวจีนกวางตุ้ง ที่เข้าไปอยู่ในอเมริกา ได้เล่นตะกร้อขนไก่นี้เหมือนกัน เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า เตกโก (T'ek k'au) ซึ่งหมายถึง การเตะลูกขนไก่
ที่เกาหลี มีการเตะลูกขนไก่ หรือ ตะกร้อจีน นี้เหมือนกัน แต่ลูกตะกร้อผิดแปลกไปบ้าง คือ ของเกาหลี ใช้ดิน หรือ ขี้เถ้า ห่อด้วยผ้าสำลี เอาหางไก่ฟ้าปัก รูปร่างคล้ายหัวหอมตอนที่ยังมีใบ พวกเกาหลีที่มีบ้าน หรือร้านขายของ อยู่ตามริมถนน มักจะเล่นเตะตะกร้อขนไก่ตามถนน เพื่อให้เท้าอบอุ่น เป็นเรื่องแก้หนาว ไม่ใช่เล่นเป็นกีฬามีศิลปะ แบบของไทย คำเรียก ก็เอามาจากภาษาจีนอีกเหมือนกัน เพราะจีนกับเกาหลี ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้กันไว้มาก
      ทางภาคใต้ของไทย ก็มีการเล่นตะกร้อขนไก่ด้วยเหมือนกัน คือที่ จังหวัด นราธวาส ยะลา ปัตตานี แต่ลูกตะกร้อ จะไม่เหมือนของจีน หรือเกาหลีนัก คือใช้หนังวัวหรือหนังควาย ขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว พับสองให้ปลายต่อกัน ที่จุดกึ่งกลางพอดี แล้วตัดหนังขนาดพอที่จะผูกขนไก่ 10 - 20 ขน (ใช้ขนไก่ตัวผู้) ต่อจากนี้ ก็เจาะหนังแผ่นใหญ่ ที่พับปลายต่อกันนั้น เอาหนังแผ่นเล็กที่จะผูกขนไก่ร้อยเข้าไป หนังแผ่นเล็กนี้ จะทำหน้าที่สองอย่าง คือยึดแผ่นหนัง ให้ต่อกัน และยึดขนไก่ไว้ด้วย
ตะกร้อมลายู ในชั้นเดิม เห็นจะทำด้วยหนังวัวควายมาก่อน ต่อมาจึงได้ใช้หวายตะกร้อ ซึ่งเบากว่า มาใช้ทำตะกร้อ แบบไทยเรา ต้นกำเนิดของตะกร้อ จะมีมาอย่างไร ยังไม่พบรายละเอียดที่น่าพอใจ ตะกร้อที่ทำด้วยหวาย มีการเล่นกัน อยู่ในเวลานี้ ก็มี พม่า ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และที่น่าสนใจก็คือ พวก ไดยัค บอร์เนียว ก็มีตะกร้อหวายเล่น วิธีเล่นก็ แบบเดียวกับไทย ฉะนั้น การที่จะกำหนดว่า ใครเป็นต้นคิดนั้น เห็นจะยาก
       การเล่นตะกร้อ ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ในสมัยแรกเริ่ม อาจจะเตะเลี้ยงเพียงไม่ให้ตกดินก่อน ต่อมาพลิกแพลง ใช้ศอก ไหล่ และ ศีรษะ มีลูกไขว้ เพิ่มขึ้นภายหลัง จึงได้มี การเตะตะกร้อลอดบ่วง ตะกร้อข้ามตาข่าย (ทางมลายูว่า เริ่มมี ในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946) มีผู้สันนิษฐานว่า ตะกร้อข้ามตาข่ายแบบไทย คงจะดัดแปลง มาจาก การเล่นกีฬาแบดมินตัน ของฝรั่งทางตะวันตก ส่วนตะกร้อข้ามตาข่าย แบบเซปัค คงดัดแปลงมาจาก กีฬาวอลเล่ย์บอล การติดตะกร้อ คือ การเตะตะกร้อให้ขึ้นไปติดค้าง อยู่บนศีรษะ บนไหล่ บนแขนได้หลาย ๆ ลูก ก็เป็นความนิยมกันอยู่ สมัยหนึ่ง ประมาณในสมัยราชกาลที่ 7 มีคนเอาไปเล่นที่อเมริกา ฝรั่งนิยมชมชื่นกันมาก ถึงกับขอซื้อตะกร้อ เอาไปหัดเล่นกัน